หลายคนคงสงสัยว่าทำไมถึงมีข่าวปลอม ทำแล้วเขาได้อะไร เกิดประโยชน์กับคนกลุ่มใด อะไรคือแรงจูงใจกับผู้สร้างเนื้อหา วันนี้เราจะมา แฉ เหตุผลในการสร้างข่าวปลอม เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงสถานการณ์และรู้เท่าทันข่าวบนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน
ผู้สร้างเนื้อหาต้องการสร้างความขบขัน ล้อเลียน หรือเสียดสี กับผู้ที่มีชื่อเสียง หรือผู้มีที่อำนาจ เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้เป็นจุดสนใจให้เราเข้าถึงเนื้อหาได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่
ข่าวรูปแบบนี้มักจะแสดงถึงความคิดเห็นส่วนตัวลงไปเพื่อชี้นำให้ผู้อ่านหลงเชื่อ ผู้เขียนข่าวอาจจะสร้างทัศนคติเอียนเอียงเลือกข้าง หรือบิดเบือนข้อมูลเพื่อใส่ร้ายฝ่ายตรงข้าม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในอีกฝั่ง มักเห็นได้บ่อยการข่าวที่มีการแข่งขัน เช่น ประเภทการเมืองและข่าวทางธุรกิจ
จากทั้ง 2 เหตุผลจากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สร้างเนื้อหานำเสนอข้อมูลผ่านโลกออนไลน์ย่อมได้ผลกำไรหรือรายได้ ทั้งการรับจ้างเขียนข้อมูลที่บิดเบือนจากฝ่ายตรงข้ามด้วย และการเขียนข้อมูลใช้คำ หรือรูปภาพพาดหัวให้ชวนสงสัย จูงใจให้เกิดการคลิก ทั้ง ๆ ที่ภายในเว็บไซต์อาจจะไม่มีข่าวอะไรเลย ยิ่งสร้างกระแสให้คนคลิกเข้าลิงก์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เห็นพื้นที่โฆษณามากขึ้น ที่เรียกว่า “คลิกเบต (Clickbait)” วิธีการนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับเจ้าของเว็บไซต์ได้มหาศาล
จะเห็นได้ว่าข่าวสารบนโลกออนไลน์ก็เหมือนเป็นดาบสองคม ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าเราขาดการตรวจสอบ กรองข่าวสาร หรือพิจารณาสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ย่อมตกเป็นเหยื่อกับผู้สร้างเนื้อหา เมื่อเราทราบเหตุผลในการสร้างข่าวปลอมแล้วหลังจากนี้เราต้องอ่านข่าวสารโดยตั้งคำถามก่อนเสมอ เพื่อที่ฉลาดเท่าทันกลุ่มคนที่ไม่หวังดีและเราจะไม่ตกเป็นเหยื่ออีกต่อไป
ผู้เขียน : นัจภัค มีอุสาห์
อ้างอิง
: ดร.สรานนท์ อินทนนท์ (รู้เท่าทันข่าว News Literacy)
: ธนาคาร เลิศสุดวิชัย จากเว็บไซต์ Digital Wow Marketing (shorturl.at/psMO6)